งานตรวจสอบและทดสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้


ขอบเขตในการการตรวจสอบ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

1  อุปกรณ์ควบคุม  
   (ก) การทำงาน การทำงานทุกอย่างของระบบ รวมทั้งของสัญญาณแจ้งเหตุ
    และสัญญาณขัดข้อง ต้องทดสอบตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     
   (ข) บริภัณฑ์เชื่อมต่อสัญญาณ ทดสอบการทำงานของวงจรเชื่อมต่อสัญญาณกับระบบอื่น ๆ
    ว่าทำงานได้ดีถูกต้อง
     
   (ค) หลอดไฟ หรือหลอด LED หลอดไฟ หรือหลอด LED ต้องทดสอบว่าใช้งานได้
     
   (ง) แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก ต้องทดสอบการทำงาน 
    ของอุปกรณ์แจ้งเหตุเช่น กระดิ่ง ทำงานทุกตัว
    อย่างต่อเนื่องได้ โดยปราศจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง
 


2  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ/หรือ UPS กรณีที่ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ออกแบบให้รับกำลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิด
    ไฟฟ้าและ/หรือ UPS ต้องทดสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
    และ/หรือ UPS ด้วยว่า สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ปกติ
     
3  แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง ตรวจสอบโดยการปลดแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก เพื่อตรวจสอบไฟจากแบตเตอรี่
    ให้มีความสามารถจ่ายไฟให้ระบบในสภาวะแจ้งเหตุ ได้อย่างน้อย 15 นาที 
     เมื่อตรวจสอบแล้ว ให้ต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักกลับคืนสู่สภาวะปกติ
4  แบตเตอรี่-การทดสอบทั่วไป  
   (ก) การตรวจด้วยสายตา ตรวจหารอยรั่ว, ระดับน้ำกลั่น และความแน่นของขั้วแบตเตอรี่ พร้อมทั้ง
    ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ด้วย
     
   (ข) การเปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนแบตเตอรี่ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยผู้ผลิต หรือเปลี่ยน เมื่อไม่
    สามารถประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่มีแรงดันตามข้อกำหนดของผู้ผลิตได้
     
   (ค) การทดสอบเครื่องประจุแบตเตอรี่ ตรวจสอบการทำงานและพิกัดของเครื่องประจุแบตเตอรี่ 
     
   (ง) การทดสอบการคายประจุของ ปลดเครื่องประจุแบตเตอรี่แล้วตรวจสภาพการคายประจุของแบตเตอรี่ตามข้อ
       แบตเตอรี่ กำหนดของผู้ผลิต วัดแรงดันที่ขั้วแบตเตอรี่ ต้องไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในข้อกำหนด
    ของผู้ผลิต (การคายประจุอาจต่อตัวต้านทานคร่อมขั้วแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิด
    กระแสไฟฟ้าเท่ากับการทำงานสูงสุดของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้)
     
   (จ) การทดสอบแรงดันเมื่อระบบ ปลดเครื่องประจุแบตเตอรี่ และตรวจสอบแรงดันระหว่างขั้วแบตเตอรี่ เมื่อ
       แจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงานเต็มที่ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงานเต็มที่แรงดันต้องไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดของผู้ผลิต
       (ขณะมีโหลด)  
     
   (ฉ) แรงดันของแบตเตอรี่เมื่อไม่มีโหลด ปลดเครื่องประจุแบตเตอรี่ แรงดันต้องไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดของผู้ผลิต
     
5  การตรวจสอบวงจรป้องกันฟ้าผ่า อุปกรณ์วงจรป้องกันฟ้าผ่า ต้องมีการตรวจสอบตามข้อกำหนดของผู้ผลิต 
    หรือปีละ2 ครั้ง และต้องตวจสอบเพิ่มเติมหลังเกิดฟ้าผ่า
6  สัญญาณขัดข้องต่าง ๆ บนแผงควบคุม  
   (ก) สัญญาณเสียง และแสง ตรวจสอบการทำงานของสัญญาณขัดข้อง และสัญญาณปรับตั้งใหม่ (Reset) 
        (Audibie & Visual)  กรณีสวิตช์เงียบเสียงเป็นแบบกดค้าง ต้องคืนสภาพปกติเมื่อแก้ไขเหตุขัดข้อง
    ของระบบแล้ว
     
   (ข) วงจรมอนิเตอร์การรั่วลงดิน กรณีแผงควบคุมมีสวิตช์ตัดสัญญาณอุปกรณ์ตรวจจับ ต้องตรวจสวิตช์ตัด
        (Disconnect Switch) สัญญาณว่าอยู่ในสถานะที่ถูกต้องหรือไม่ หรือให้ตรวจสอบสัญญาณขัดข้อง 
    อันเนื่องจากสวิตช์ตัดสัญญาณอยู่ผิดสถานะ
     
   (ค) วงจรมอนิเตอร์การรั่วลงดิน เมื่อระบบมีวงจรมอนิเตอร์รั่วลงดิน ตรวจสอบการทำงานของวงจรโดยต้อง
        (Ground Fault Monitoring Circuit) แสดงสัญญาณขัดข้องเมื่อสายไฟฟ้าใด ๆ ในระบบรั่วลงดิน
     
   (ง) การส่งสัญญาณต่าง ๆ ออกนอกพื้นที่ ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ แล้วตรวจสอบการรับสัญญาณ
       (Transmission of Signal Off ต่าง ๆที่ส่งออกนอกพื้นที่
       Premise Location) ตรวจสอบการรับสัญญาณเหตุขัดข้องที่ส่งออกนอกพื้นที่
    ตรวจสอบการรับสัญญาณ ตรวจคุมที่ส่งออกนอกพื้นที่
     
7  แผงแสดงผลระยะไกล ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 
    และตรวจสอบการรายงานผลที่แสดงที่แผงแสดงผลเพลิงไหม้รวมทั้ง
    สัญญาณขัดข้องต่าง ๆถ้ามี
     
8  ตัวนำ / โลหะ  
   (ก) การลัดวงจรดิน ตัวนำไฟฟ้าทั้งหมดในระบบต้องตรวจสอบว่าไม่รั่วลงดิน วิธีการทดสอบให้
    เป็นไปตามที่ผู้ผลิตแนะนำ ยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบสายดิน
     
   (ข) การลัดวงจร ตัวนำไฟฟ้าทั้งหมดในระบบต้องตรวจสอบว่าไม่มีการลัดวงจร ระหว่าง
    สาย-สาย และสาย-ดิน วิธีการทดสอบให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
     
   (ค) ความต้านทานวงจร วัดความต้านทานวงจร ของอุปกรณ์วงจรเริ่มสัญญาณ และวงจรแจ้งเหตุ
        (Loop Resistance) ต้องมีค่าไม่เกินที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
9  ตัวนำ / อโลหะ  
   (ก) ความพร้อมของวงจร ตรวจสอบอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ อุปกรณ์แจ้งเหตุ และวงจรแจ้งเหตุ ว่ามี
    การเชื่อมต่อสายอย่างถูกต้อง
     
   (ข) สายใยแก้ว สายใยแก้วต้องทดสอบตามผู้ผลิตแนะนำ หรือใช้มิเตอร์วัดกำลังแสง วัดความ
        (Fiber Optic) สูญเสียในสาย ค่าที่วัดได้ของใยแก้วทุกเส้นต้องบันทึกไว้ที่แผงควบคุม ในการ
    วัดครั้งต่อไป ถ้ากำลังสูญเสียมากกว่า ร้อยละ 2 จากค่าที่เคยบันทึกไว้ครั้ง
    แรกต้องทำการแก้ไขให้กลับคืนสู้สภาพโดยช่างผู้ชำนาญ
     
   (ค) การตรวจคุม เมื่อทดลองเปิดวงจรตรวจคุม ต้องมีการแสดงสัญญาณขัดข้องเกิดขึ้นที่แผง
    การทดลองเปิดวงจรแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของอุปกรณ์เริ่ม
    สัญญาณอุปกรณ์แจ้งเหตุ หรืออุปกรณ์สายสัญญาณ
10  อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ  
   (ก) อุปกรณ์เริ่มสัญญาณทางกล ถอดตัวเชื่อมหลอมละลายออก และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
   และไฟฟ้า หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ทุกชิ้นตามความจำเป็น
        1.ตัวเชื่อมแบบไม่คืนสภาพ ถอดตัวเชื่อมหลอมละลายออก และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
        2.ตัวเชื่อมแบบคืนสภาพ หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ทุกชิ้นตามความจำเป็น
    หมายเหตุ โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจจับแบบตัวเชื่อมหลอมละลายใชสำหรับ
    ปิดประตูทนไฟ ลิ้น (Damper)
     
   (ข) สวิตช์สัญญาณแจ้งเหตุระดับเพลิง ทดสอบการทำงานของสวิตช์โดยทางไฟฟ้าหรือทางกลว่า สามารถส่ง
    สัญญาณไปที่แผงควบคุมได้
     
   (ค) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟจากก๊าซ ทดสอบความถูกต้องในการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับเปลิวไฟจากก๊าซ
    ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     
   (ง) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน  
        1.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ ทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนด้วยอุปกรณ์ให้ความร้อนตามคำแนะนำของ
         อุณหภูมิ คงที่ และ/หรือแบบ ผู้ผลิต และอุปกรณ์ตรวจจับต้องทำงานภายใน 1 นาที การทดสอบต้องระวัง
         อัตราเพิ่มอุณหภูมิ ที่เป็นชนิดเส้น การเกิดความเสียหายกับตัวตรวจจับความร้อนแบบไม่คืนสภาพ
         หรือชนิดจุดแบบคืนสภาพ  
     
        2.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ ห้ามทดสอบโดยใช้ความร้อน ให้ทดสอบการทำงานโดยทางกลและไฟฟ้า
         อุณหภูมิคงที่ ที่เป็นชนิดเส้นแบบ โดยวัดและบันทึกค่าความต้านทานวงจร และเปรียบเทียบกับค่าที่ยอมรับได้
         ไม่คืนสภาพ  
        3.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ ภายหลังการใช้งานนาน 15 ปี ให้เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด หรือนำตัวอย่างไม่น้อย
         อุณหภูมิคงที่ชนิดจุดแบบไม่คืน กว่าร้อยละ 2 ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ถ้าตัวใดตัวหนึ่งไม่ผ่านการทดสอบนำ
         สภาพ ตัวอย่างใหม่อีกร้อยละ 2 ตัว มาทำการทดสอบอีก และหากไม่ผ่านการทดสอบ
    ให้เปลี่ยนอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนทั้งหมด อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่นำไป
    ทำการทดสอบแล้วห้ามนำกลับมาใช้อีก
     
        4.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนทั่วไป ห้ามทดสอบโดยใช้ความร้อน ให้ใช้การทดสอบการทำงานโดยทางกลและไฟฟ้า
         แบบไม่คืนสภาพทั่วไป  
   (จ) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ ทดสอบการทำงานตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     
   (ฉ) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง ทดสอบตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     
   (ช) อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องทดสอบ ณ จุดติดตั้ง โดยใช้ควัน หรือก๊าซ
    เสมือนควันที่ผู้ผลิตยอมรับ
     
        1.ทุกชนิด ให้ตรวจสอบค่าความไวของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ให้อยู่ในช่วงยอมรับได้
    ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
     
        2.ชนิดตรวจจับควันในท่อลม อุปกรณ์ครวจจับควันในท่อลม ให้ทดสอบการไหลของอากาศ
           (Duct type) ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
        3.ชนิดลำแสง การตรวจสอบให้ใช้ก๊าซเสมือนควัน หรือแผ่นกรองแสงไปขวางลำแสง
        4.อุปกรณ์ตรวจจับควัน และความ ตรวจสอบแยกแต่ละส่วน ตามวิธีการที่กล่าวแล้ว
         ร้อนในตัวเดียวกัน  
        5.อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิด แบบมี อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดนี้ จะมีสวิตซ์ตัดต่อวงจรการควบคุม เปิด/ปิด อุปกรณ์
         สวิตซ์ควบคุมอุปกรณ์ อื่น เช่น พัดลมดูดควัน ให้ตรวจสอบว่าการทำงานของอุปกรณ์เริ่มสัญญาณอื่น ๆ
    ในวงจรเดียวกันไม่ทำให้ความสามารถในการควบคุมของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
    ตัวนี้เปลี่ยนไป
   (ญ) อุปกรณ์เริ่มสัญญาณและการตรวจคุม  
         1.สวิตซ์ควบคุมประตูน้ำดับเพลิง ให้ตรวจสอบว่า สวิตซ์ต้องเริ่มสัญญาณถ้าหมุนประตูน้ำภายใน 2 รอบ หรือ
    ประตูน้ำเลื่อนไป 1ใน5 ของระยะทางปกติหรือตามข้อกำหนดจากโรงงานผู้ผลิต
         2.สวิตซ์วัดแรงดัน ตรวจสอบว่า สวิตซ์ต้องเริ่มสัญญาณผิดปกติ ถ้าแรงดันน้ำเพิ่มหรือลดลง 
    10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จากแรงดันปกติ
         3.สวิตซ์ระดับน้ำ ตรวจสอบว่า สวิตซ์ต้องเริ่มสัญญาณผิดปกติ ถ้าแรงดันน้ำเปลี่ยนไปจากระดับที่
    ตั้งไว้ 75 มม. สำหรับถังความดัน หรือ 300 มม. สำหรับถังปลอดความดัน
   (ฎ) สวิตซ์ตรวจการไหล ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์เมื่อมีการไหลของน้ำ
     
11  อุปกรณ์แจ้งเหตุ  
   (ก) เสียง วัดค่าระดับความดังเสียงในบริเวณป้องกันด้วยเครื่องวัด ซึ่งต้องเป็นไปตามที่
    กำหนดในมาตรฐาน
     
   (ข) ลำโพง วัดค่าระดับความดังเสียงในบริเวณป้องกันด้วยเครื่องวัด ซึ่งต้องเป็นไปตามที่
    กำหนดในมาตรฐาน
   (ค) แสง ให้ทดสอบตามคำแนะนำของผู้ผลิต และตรวจสอบตำแหน่งติดตั้ง ให้ตรงกัน
    แบบที่ได้รับอนุมัติ
12  บริภัณฑ์สื่อสารฉุกเฉิน  
   (ก) เครื่องขยายเสียง / เครื่องกำเนิดเสียง ตรวจสอบการทำงานของชุดสำรองและอุปกรณ์ปลดสับให้อยู่ในตำแหน่งที่
        (Amplifer / Tone Generator) ถูกต้อง
   (ข) สัญญาณเรียกเข้า ตรวจสอบการทำงานและรับสัญญาณทั้งแสงและเสียงที่เข้ามายังแผงควบคุม
     
   (ค) ระบบโทรศัพท์ ตรวจสอบการทำงานและขั้นตอนการทำงานให้ถูกต้อง ตั้งแต่เครื่องโทรศัพท์
    เต้ารับหูฟัง และสัญญาณการทำงาน
   (ง) สมรรถนะของระบบ ทดสอบการสื่อสารระหว่างกันอย่างน้อย 5 หูฟังในเวลาเดียวกัน ตรวจสอบ
 

ความคมชัดของเสียง


13  บริภัณฑ์เชื่อมต่อสัญญาณ ตรวจสอบการต่อของบริภัณฑ์เชื่อมโยง โดยทดสอบการทำงานจริงหรือโดย
    การจำลองสัญญาณรับส่งระหว่างกัน













Visitors: 47,365